1.30.2556

วิธีการปลูกกุหลาบงามๆค่ะ..^^

หลังจากที่เราพอจะรู้จักประเภทกุหลาบคร่าวๆ  แล้ว ลองมาดูวิธีการปลูกกุหลาบ กันค่ะ.... เริ่มจาก>>

การเตรียมดินและการปลูก..

ในภาคกลางซึ่งมีสภาพดินค่อนข้างเหนียว และค่อนข้างเป็นกรดจัด ระดับ น้ำใต้ดินสูง เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบจะนิยมปลูกแบบร่องสวน ซึ่งมีคูน้ำคั่นกลาง โดยเริ่มเตรียมดินในฤดูแล้ง คือจะต้องฟันดินและตากดินให้แห้ง เพื่อกำจัดวัชพืช ก่อน ในขณะที่ตากดินนี้อาจโรยปูนขาวลงไปด้วยก็ได้ เมื่อดินแห้งดีแล้วจึงกลับ หน้าดิน และชักดินในแต่ละแปลงให้มีขอบสูง ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อย ขนาด ของแปลงกว้างและยาวตามพื้นที่เดิมที่เคยปลูกผักมาแล้ว การวางระยะห่างของ ต้นที่จะปลูกอาจใช้ระยะ 50 x 50 เซนติเมตร จำนวนแถวในแต่ละแปลงไม่ควร เกิน 3 แถว เพื่อความสะดวกในการตัดดอกและตัดแต่งกิ่งตรงแถวกลาง



สำหรับในภาคอื่นที่มีสภาพดินค่อนข้างร่วนหรือดินร่วนปนทราย อาจ ปลูกแบบเจาะหลุมปลูกหรือแยกแปลงปลูกก็ได้โดยวัดขนาดแปลงปลูกกว้าง 1 .20 เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร ความยาวของแปลงปลูกตามขนาดของพื้นที่ และใช้ ระยะปลูก 60 x60 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นประมาณ 2,000 ต้นต่อไร่ (หรือ ทำแปลงปลูกกว้าง 1เมตร เว้นทางเดิน 1 เมตร และใช้ระยะปลูก 50 x 50 เซนติเมตร สำหรับพันธุ์กุหลาบที่ขนาดของทรงพุ่มไม่แผ่กว้างมากนัก) ก่อนปลูกควรหว่าน ปูนขาวและไถพรวนตากดินไว้ให้แห้ง



กุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดหรือด่าง แต่เจริญได้ดีในดิน ที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือมี pH ประมาณ 4.5-6.5 ถ้าดินเป็นกรดมากให้เติม ปูนขาว 60-100 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา แต่ถ้าดินเป็นด่างก็ใส่กำมะถันผง 20-50 กิโลกรัมต่อ 100 ตารางวา เมื่อเตรียมแปลงปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้ขุดหลุม ปลูกกว้างและลึก 30 x 30 เซนติเมตร (ถ้าเตรียมหลุมปลูกกว้างและลึกกว่านี้ จะ เป็นการดียิ่งขึ้น) จากนั้นก็จะใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว ฯลฯ ประมาณหลุมละ 1 บุ้งกี๋ ใส่ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต หรือกระดูกป่นเป็นปุ๋ยรองก้นหลุม ๆ ละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบซึ่งอาจจะเป็นกิ่งตอนหรือต้นติดตา ลงไปปลูก กลบดินที่โคนต้นให้กระชับและรดน้ำให้ชุ่ม



กิ่งพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเพื่อตัดดอกเป็นการค้าในปัจจุบัน ได้แก่ กิ่งตัดชำ และกิ่งตอนจะมีเกษตรกรบางรายที่ปลูกโดยใช้ต้นติดตา แต่มีน้อยราย


การให้น้ำกุหลาบ....

กุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ปริมาณน้ำที่รดลงไปในดินปลูกควร กะให้น้ำซึมได้ลึกประมาณ 16-18 นิ้วและอาจเว้นระยะการรดน้ำได้คือ ไม่จำเป็น ต้องรดน้ำทุกวัน (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก) มีข้อควรจำอย่างยิ่งในการรดน้ำ กุหลาบคือ อย่ารดน้ำให้โดนใบเนื่องจากโรคบางโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาด กระจายไปได้โดยง่าย การให้น้ำก็ไม่ควรให้น้ำกระแทกดินปลูกแรงๆ เพราะเม็ดดิน จะกระเด็นขึ้นไปจับใบกุหลาบ ทำให้เชื้อโรคบางชนิดที่อาศัยอยู่ในดินระบาดกลับ ขึ้นไปที่ต้นโดยง่ายและถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดน้ำในตอนเช้า


การใส่ปุ๋ย....

ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำมือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบ รากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบ ๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้วแล้วแต่ขนาดของ ทรงพุ่ม จากนั้นก็รดน้ำตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดน้ำจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไปเพื่อเร่งการออกดอก และทำให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบเพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้วคือควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบ ๆ ต้น อย่างสม่ำเสมออย่าใส่เป็นกระจุก ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งเพราะอาจทำให้เกิดความเสียหาย ต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป


การคลุมดินแปลงปลูก...

เนื่องจากกุหลาบเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ดังนั้นสถานที่ปลูกกุหลาบจึงต้องเป็นที่โล่งแจ้งและจะต้องมีความชื้นสูงด้วย การ คลุมแปลงปลูกจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่าหรับการปลูกกุหลาบโดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้นๆ เซ่น หญ้าแห้ง ฟาง เปลือกถั่วลิสง ซังข้าวโพด ชานอ้อย ขุยมะพ้าว แกลบ และขี้เลื่อย เป็นต้น ควรจำไว้ว่าวัสดุที่จะนำมาคลุมแปลงปลูกนี้ควรเป็น วัสดุที่เก่า คือ เริ่มสลายตัวแล้วมิฉะนั้นจะทำให้เกิดการขาดไนโตรเจนกับต้น กุหลาบ ดังนั้นถ้าไซ้วัสดุที่คลุมแปลงค่อนข้างใหม่ควรเติมปุ๋ยไนโตรเจนลงไปด้วย การคลุมแปลงนี้นอกจากจะช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิรวมทั้งเพิ่มความโปร่ง ของดิน และเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินในแปลงปลูกแล้วยังช่วยป็องกันวัชพืชให้ขืน ช้าอีกด้วย

โรคที่เกิดขึ้นในกุหลาบ...

1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำกลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วย ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสท และเบนโนมิล



2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและดอกอ่อนมีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาว ควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน



3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำลายแผลที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำให้กิ่งก้าน เหี่ยวแห้งตายไปในที่สุดควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง



4. โรคใบจุดสีน้ำตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีน้ำตาลขนาด 1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสท ไดเทนหรือแบนแซดดี



5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือง เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

แมลงและหนอนศัตรูกุหหลาบ

1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดกหรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมี ประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน



2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใซ้ได้ผลดี เช่น เอนดริน



3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อน้ำของกิ่งหรือต้น ทำให้กิ่งและต้นแห้งตาย ควรป้องกันกำจัดโดยการ ตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสียหรือ ป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด



4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำและสีน้ำตาลขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน



5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง



6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีน้ำตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ดอกที่ถูกทำลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อน ป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออน คลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต



7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับน้ำ ได้ยาก



8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากลำต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีน้ำตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบ เพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้น้ำมันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม



9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำให้ใบเหลืองและร่วงหล่น ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น



10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบ โดยจะเกาะและดูดน้ำเลี้ยงจากใบที่ถูกทำลายนั้น ปรากฎเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ เคลเทน


""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
อาจจะดูยุ่งยาก......ในการปลูกนะค่ะ
แต่พอได้ลองปลูกจริงๆ.......เอาใจใส่ดูแลใส่ปุ๋ย
เผลอแป๊บเดียว เดือนกว่า   ออกดอกชุดใหม่สวยงาม
จนต้องหา เพื่อนพ้องกุหลาบหลากสายพันธุ์มาเพิ่มเลยที่เดียว^^


"""""""""""""""""""""""""""

1 ความคิดเห็น:

  1. พบปัญหาหนอนในกหลาบ ใช้ไวรัส NPV สิครับ ปราบหนอนกระทู้หอม กระทู้ผัก ซึ่งเป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แล้วยังปลอดภัยต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วย อีกทั้งยังไม่ต้องเพิ่มจำนวนการใช้เหมือนสารเคมี และชีวภัณฑ์ตัวอื่นๆ หนอนไม่ดื้อยาแน่นอนครับ เป็นผลงานวิจัยจาก สวทช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร บริษัทไบรท์ออร์แกนิค เป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้วนะครับ ติดต่อ 0831787574 คุณจิราพร
    www.facebook.com/brightorganic

    ตอบลบ